งานแย่ๆ ไม่ใช่สุขภาพจิตที่แย่ ยอมรับว่ายุคหนึ่งสมัยหนึ่ง ดัชนีชี้วัดความสำเร็จเรื่องงาน คือการทำงานอย่างทุ่มเทอย่างสุดหัวใจ เรียกว่าทุ่มเวลาทั้งชีวิตให้กับการทำงานอย่างไม่ลืมหูลืมตา ยิ่งคุณทำงานมากกว่าใคร นั่นหมายถึงเส้นชัยของความสำเร็จกำลังรอคุณอยู่ที่ปลายทาง เชื่อว่าครั้งหนึ่งหลาย ๆ คนเคยมีความเชื่อแบบนั้น จนถึงตอนนี้บางคนก็ยังคงเชื่ออยู่ ยิ่งคนในยุค Baby Boomer (อายุระหว่าง 54-72 ปี) ยิ่งให้ค่ากับการทำงานอย่างถวายหัว เพราะงานแย่ๆ ไม่ใช่สุขภาพจิตที่แย่
เวลาเปลี่ยน ที่สุดคนเราก็ต้องเปลี่ยน จะเห็นได้ว่าค่านิยมเรื่องการทำงานของคนในปัจจุบัน ไม่เป็นเช่นนั้นเท่าไรแล้ว อาจมีบ้างที่ยังคงความเชื่อแบบเดิมไว้อยู่ แต่กระแสแห่งลมได้เปลี่ยนทิศ ให้ชาวออฟฟิศทั้งหลายเปลี่ยนแนวคิดมาใช้ชีวิตแบบสุขนิยมมากขึ้น “สุขภาพจิต” กลายมาเป็นสิ่งสำคัญที่หลายคนเลือกจะรักษา มากกว่าการเดินไปถึงเส้นชัยแห่งความสำเร็จของการทำงาน ทว่าไม่มีใครอยู่ฉลองความสุขเหล่านั้นเคียงข้างเราสักคน
งานแย่ๆ ไม่ใช่แค่สุขภาพจิตแย่
5 สิ่งที่คุณต้องเจอ เมื่องานแย่ไม่ใช่แค่เสียสุขภาพจิต
ในช่วงวัยที่ต้องรับศึกหนักจากปัญหาสังคมรอบด้าน ทั้งความกดดันจากหน้าที่การงานอันหนักอึ้ง สภาพเศรษฐกิจที่ถดถอย และภาพลักษณ์แห่งการเปรียบเทียบจากสังคม หลอมรวมเป็นปัญหาด้านสุขภาพที่พร้อมจะรัวหมัดเข้าใส่ไม่ยั้ง ไม่เพียงทางด้านร่างกาย แต่จิตใจที่ขับเคลื่อนความคิดและความรู้สึกภายในก็สามารถเจ็บป่วยได้เช่นกัน ปัจจุบันมีคนไทยจำนวนไม่น้อยพบเจอกับวังวนแห่งความเครียดจนสะสมเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่ย่ำแย่ โดยเฉพาะวัยทำงานอย่างมนุษย์ออฟฟิศทั้งหลาย ซึ่งปัญหาสุขภาพจิตที่ชาวออฟฟิศอาจต้องเผชิญนั้น มีอะไรบ้างที่ชาวออฟฟิศวัยทำงานและเพื่อนร่วมออฟฟิศควรสังเกต เราได้รวบรวมข้อมูลมาฝากไว้ที่นี่แล้ว
1. เครียดสะสม
การใช้ชีวิตบนความตึงเครียด ความกดดัน และมีความคาดหวังสูง 5-6 วันต่อสัปดาห์ มักเป็นสาเหตุของอาการเครียดสะสม หนึ่งในปัญหาสุขภาพจิตที่หลายคนเป็นแต่ไม่รู้ตัว เรียกได้ว่ารู้ตัวอีกทีก็อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานและคนรอบข้างไปแล้ว สังเกตได้จากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปทั้งด้านอารมณ์และการใช้ชีวิต เช่น นอนไม่หลับ ตื่นกลางดึก นิ่งเงียบ เบื่อหน่ายชีวิต เศร้าหมอง ความต้องการทางเพศลดลง เป็นต้น ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้อาจกลายเป็นภาวะอันตรายที่นำไปสู่ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางกายตามมาได้ ทั้งหัวใจ ความดันโลหิต ไมเกรน เครียดลงกระเพาะ และอื่นๆ ได้
จัดการความเครียด (ก่อน) สะสม ด้วยการวิเคราะห์ถึงต้นตอของปัญหาและแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุนั้นๆ จัดแจงสิ่งแวดล้อมรอบตัวให้ดูสดชื่น ด้วยการปรับเปลี่ยนมุมโต๊ะทำงานใหม่ลดความจำเจ และบำบัดตัวเองด้วยการออกไปพบปะผู้คน ท่องเที่ยว ชอปปิง หรือวิธีที่สามารถทำได้ง่ายด้วยการออกไปเดินสูดอากาศที่สวนสาธารณะก็ช่วยให้ผ่อนคลายได้ดียิ่งขึ้น แต่ถ้ารู้สึกว่าไม่สามารถจัดการกับความเครียดด้วยตัวเองได้ หรือเครียดมากจนไม่ไหวแนะนำให้ปรึกษาจิตแพทย์ หรือนักบำบัด พูดคุยเพื่อหาแนวทางแก้ไขวิธีอื่นๆ แทน หรือรับประทานยาที่ช่วยให้ผ่อนคลายมากขึ้น
2. ภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout Syndrome)
อาจเรียกได้ว่าเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่กำลังมาแรงในกลุ่มพนักงานออฟฟิศ คือภาวะการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจอันมีที่มาจากความเครียดสะสม ปัจจุบันได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การอนามัยโลก (WHO) แล้วว่าเป็นโรคที่สามารถส่งผลรุนแรงและคุกคามการดำเนินชีวิตได้หากไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกวิธีจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยสาเหตุมักเกิดจากความเครียดเรื้อรังในการทำงาน ภาระงานที่หนักซับซ้อนเกินกว่าที่จะรับผิดชอบได้ไหว บั่นทอนจิตใจจนกลายสภาพเป็นความหมดไฟในที่สุด ความเหนื่อยล้าทางอารมณ์ส่งผลให้มุมมองที่มีต่อการทำงานเป็นไปในด้านลบ ขาดความสุข หมดแรงจูงใจไม่อยากลุกไปออฟฟิตในยามเช้า และอาจส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานต่ำลง ซึ่งหากปล่อยให้นานวันเข้าอาจมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นและเสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้าได้
รับมือกับภาวะหมดไฟได้อย่างกล้าหาญ เพียงรับรู้ว่าร่างกายและจิตใจของตนเองกำลังเข้าสู่ภาวะความเหนื่อยหน่ายจากการทำงานได้ก็ไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอีกต่อไป ด้วยการเปิดใจกับคนรอบข้าง ปรึกษาเพื่อนร่วมงาน หรือหัวหน้าถึงปัญหาที่ต้องแบกรับไว้ ยอมรับในความต่าง รับฟังความคิดเห็นที่อาจไม่ตรงกัน ปล่อยวางในเรื่องที่นอกเหนือการควบคุม ฟื้นฟูแก้ไขก่อนจะสายได้ด้วยตัวเองโดยการไม่เก็บงานกลับไปทำที่บ้าน แยกเวลาส่วนตัวและงานออกจากกันให้ชัดเจน
3. ภาวะความพึงพอใจในตนเองต่ำ (Low self esteem)
ปัญหาสุขภาพจิตที่ชาวออฟฟิศหลายคนไม่รู้ตัวว่ากำลังเผชิญภาวะนี้อยู่ นั่นคือ ความรู้สึกเศร้าใจ ไม่ชอบสิ่งที่ตัวเองได้ตัดสินใจทำลงไปแล้วมากเสียจนรู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่า สูญเสียความรู้สึกให้เกียรติตัวเอง แบกรับปัญหาและกล่าวโทษว่ามีต้นเหตุมาจากตัวเองไม่ดีพอ ตีความเหตุการณ์ต่างๆ ในแง่ลบเสมอ เป็นภาวะเสี่ยงมากที่จะก้าวข้ามสู่โรคซึมเศร้า สัญญาณเตือนที่เห็นได้ชัดเจนสำหรับผู้กำลังเผชิญวิกฤติ Low self esteem คือความอ่อนไหวไปกับเรื่องเล็กน้อยได้ง่าย วิตกกังวล ไปจนถึงกลัวการเข้าสังคมเพราะกลัวที่ต้องถูกปฏิเสธ ขณะเดียวกันก็ไม่กล้าปฏิเสธคำขอของผู้อื่นเนื่องจากกลัวไม่เป็นที่ยอมรับ ซึ่งอาการเหล่านี้เกิดจากการขาดความเชื่อมั่นและศรัทธาในตนเองที่สะสมมาเป็นเวลานาน
สร้าง self esteem ด้วยตนเองได้ก่อนที่ความเชื่อมั่นทางใจจะหายไป โดยเริ่มจากการให้อภัยตนเองในความผิดพลาดที่เคยเกิดขึ้น ไม่ว่าเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ขอให้บอกตัวเองว่ามันได้ผ่านพ้นไปแล้ว พูดขอบคุณและให้คำชมกับตัวเองในทุกความสำเร็จแม้เป็นเรื่องเพียงเล็กน้อย จะดียิ่งขึ้นหากได้แรงสนับสนุนจากคนรอบข้าง ที่สามารถมอบพลังบวกและความสบายใจให้ได้ ยอมรับว่าความสำเร็จของแต่ละคนมีความหมายไม่เท่ากัน หยุดเอาตัวเองไปเปรียบกับผู้อื่น ความสุขก็จะเกิดขึ้นได้ในหัวใจเราเอง
4. โรคซึมเศร้า (Depression)
เป็นการเจ็บป่วยอย่างหนึ่งเช่นเดียวกับโรคทางกายชนิดอื่นๆ การเป็นโรคซึมเศร้าไม่ได้มีความหมายว่าเป็นคนอ่อนแอ หรือไร้ความสามารถ แต่เกิดจากความไม่สมดุลของสารสื่อประสาทในสมอง ที่มีผลกระทบโดยรวมต่ออารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรม ไปจนถึงสุขภาพกาย ซึ่งจากสถิติพบว่าคนไทยอายุมากกว่า 15 ปี มีปัญหาสุขภาพจิต ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าสูงกว่า 1.5 ล้านคน เพราะนอกจากปัจจัยเสี่ยงที่มาพร้อมความเครียดจากงานที่กองล้นโต๊ะ ความกดดันจากการทำงานที่สะสางได้ยาก สภาพสังคม พันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม ล้วนมีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าด้วย เราสามารถสำรวจตัวเองและคนรอบข้างว่าเข้าข่ายโรคซึมเศร้าหรือไม่ ด้วยอาการเศร้าซึม หม่นหมอง หดหู่ เก็บเนื้อเก็บตัว รู้สึกเบื่อหน่ายกับสิ่งที่เคยทำให้มีความสุข ซึ่งอาจรุนแรงไปจนถึงขั้นคิดทำร้ายตัวเอง หรือทำแบบทดสอบภาวะซึมเศร้า เพื่อประเมินสุขภาพจิตของตัวเองเบื้องต้น
5. กลุ่มโรควิตกกังวลและแพนิค (Panic Disorder)
เป็นโรควิตกกังวลชนิดหนึ่ง เกิดจากระบบประสาทอัตโนมัติที่คอยควบคุมส่วนต่างๆ ของร่างกายทำงานผิดปกติ รวมถึงมีความเครียดและความกดดันเข้ามาเป็นตัวกระตุ้น มักแสดงอาการได้หลายอย่างร่วมกัน เช่น หัวใจเต้นแรง ใจสั่น เหงื่อออกมาก หายใจหอบ อาเจียน วิงเวียนแบบฉับพลัน ตัวชา ควบคุมตัวเองไม่ได้ ไปจนถึงการหวาดกลัวสิ่งรอบตัวจนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัญหาสุขภาพจิตที่คุกคามชีวิตของคนวัยทำงานไม่มากก็น้อย
โรควิตกกังวลสามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานยาเพื่อปรับสมดุลของสารเคมีในสมอง ควบคู่ไปกับการฝึกหายใจเพื่อควบคุมสติ รู้เท่าทันความกังวลในใจที่เกิดขึ้น แม้อาการภายนอกจะดูไม่เป็นอันตรายร้ายแรง แต่หากอยู่ในกลุ่มเสี่ยงเป็นโรควิตกกังวลแล้วควรปรึกษาสุขภาพจิตกับจิตแพทย์ เพื่อเข้ารับการรักษาที่ถูกต้อง เนื่องจากอาการของโรคคล้ายคลึงกับปัญหาสุขภาพอื่นๆ ที่อาจส่งผลร้ายแรงมากกว่า เช่น โรคความดันโลหิตสูง หรือโรคที่เกี่ยวกับระบบหัวใจ
อย่าปล่อยให้ปัญหาสุขภาพจิตอย่างโรคซึมเศร้าคุกคามชีวิตจนเกินแก้ไข เราสามารถห่างไกลโรคซึมเศร้าได้ด้วยการผ่อนคลายความเคร่งเครียดจากงาน ฝึกให้ตนเองคิดบวกมองโลกแง่ดี แบ่งเวลาออกไปทำงานอดิเรกที่ชอบ รวมถึงออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ แต่หากอยู่ในกลุ่มเสี่ยงแล้วสามารถรับมือภาวะซึมเศร้าด้วยการปรึกษาจิตแพทย์ เพื่อวิเคราะห์และหาแนวทางรักษาอย่างถูกวิธี รวมถึงเมื่อมีโอกาสได้ใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า การเป็นผู้ฟังที่ดีจะช่วยให้ทั้งสองฝ่ายรู้สึกผ่อนคลายได้มากขึ้น
ปัญหาสุขภาพจิตเป็นปัญหาที่สามารถเกิดได้กับทุกเพศ ทุกอาชีพ และทุกวัย เมื่อรู้สึกไม่ไหวบอก “ไม่ไหว” ไม่ต้องไปทนฝืน เพราะนั่นอาจเป็นการปกปิดปัญหาและทำร้ายตัวเองมากไปกว่าเดิม ไม่เพียงแค่ชาวออฟฟิศเท่านั้น การรับรู้ตัวเอง เข้าใจภาวะที่เกิดขึ้นในเบื้องต้น ก็สามารถทำให้เรารู้เท่าทันและเตรียมพร้อมรับมือกับสุขภาพจิตที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างถูกวิธี ดังนั้นอย่าลืมดูแลสุขภาพจิตให้แข็งแกร่ง ร่วมกับสุขภาพกายที่แข็งแรง มองเพื่อนร่วมออฟฟิศด้วยความเข้าใจ ให้กำลังใจซึ่งกันและกันเมื่อมีโอกาส ให้โอกาสตัวเองได้โฟกัสชีวิตในมุมมองที่มีความสุขกันเถอะ
หากรู้ตัวว่าภาวะเครียดเริ่มคุกคามจิตใจ หรือกำลังประสบปัญหาด้านสุขภาพจิต สามารถติดต่อศูนย์บริการเฉพาะทางเพื่อขอคำปรึกษาจากจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และรับการรักษาอย่างถูกวิธีต่อไป
Facebook fanpage : GeeHRM Line@ : 640vtamj Tiktok : GeeHRM Website: GeeHRM