เมื่อเทรนด์การทำงานในยุคนี้เปลี่ยนไปมีความท้าทายที่ต้องเจอมากมายอย่างเห็นได้ชัด ข้อความสำคัญที่ฝ่ายบุคคลจะใช้สื่อสารกับผู้สมัครงานก็ต้องเปลี่ยนไปด้วย จะเน้นการทำงานหนัก ชูเรื่องความทุ่มเทแล้วได้ผลตอบแทนสูง สิ่งนี้อาจจะไม่ซื้อใจคนในยุคนี้อีกต่อไป การสื่อสารที่ตรงจุดถือเป็นหนึ่งในกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างชาญฉลาด นอกเหนือจากการสื่อสารที่ตรงใจแล้ว ยังมีเรื่องอื่น ๆ ของฝ่าย HR ที่ต้องเจออีกด้วย จะมีอะไรบ้างนั้น ไปดูกัน!
ความท้าทายของที่ต้องเจอของ ‘ฝ่ายทรัพยากรบุคคล’ หรือ ‘HR’ ควรโฟกัสและทำอะไรบ้าง ในปี 2024
1. คนทำงานในยุคนี้ส่วนใหญ่ก็ดูมีแนวโน้มจะเป็นเช่นนั้น ขายความสามารถแลกเงิน ไม่ได้มองว่าต้องภักดีกับบริษัทนั้น หรือทำงานที่เดียวไปตลอด ความอดทนไม่ใช่เหตุผลที่ทำให้คนทำงาน ยิ่งถ้าองค์กรไหนปฏิบัติกับพนักงานแบบไม่เห็นคุณค่า ไม่เคารพในความแตกต่าง หรือเอาเปรียบมากเกินไป พนักงานก็พร้อมเดินออกไปทันที แม้ไม่มีงานใหม่รองรับ ไม่ใช่แค่ สุขภาพกาย ที่พนักงานต้องรักษา สุขภาพจิต และความสุขระหว่างการ ทำงาน คือสิ่งที่คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญ สังเกตได้จากเทรนด์การทำงานแบบ Well-Being หรือ Work life balance ที่มาแรง องค์ไหนให้ความสำคัญกับสองสิ่งนี้ มีแนวโน้มที่คนรุ่นใหม่จะเลือกทำงานด้วยสูง
2. มีรูปแบบการทำงานที่แบบผสมผสานและมีความยืดหยุ่น (Hybrid Work Models and Flexibility)
ต้องมีการวางแผนในการทำงานร่วมกันระหว่างทีมงานที่ทำงานที่บ้านและที่ทำงานในสถานที่ มีความยืดหยุ่นในเวลาทำงานและสถานที่จะเป็นปัจจัยสำคัญ ทั้ง Hard skill และ Soft Skill ไปจนถึง Multitasking Skill เห็นได้จากโพสต์ประกาศหางานของหลาย ๆ บริษัทที่ Job Description ครอบจักรวาลมาก เช่น หานักเขียนที่ตัดต่อคลิปวิดีโอ หรือทำกราฟิกได้ ยิ่งถ้ามีความรู้เรื่องการตลาดจะพิจารณาเป็นพิเศษในมุมขององค์กรเข้าใจได้ว่าอยากประหยัดงบ แต่ในมุมคนทำงานมองอย่างไรก็รู้สึกไม่ยุติธรรม จนทำให้ผู้สมัครที่มีความสามารถบางคนเลือกที่จะไม่ทำงานกับบริษัทนั้น เพราะการที่ตั้งธงมาแบบนี้ตั้งแต่แรก ก็สะท้อนถึงวัฒนธรรมองค์กรได้ ทั้งนี้งานหนักทั้งหมดก็จะตกไปอยู่กับฝ่ายบุคคล จะแก้ไขสถานการณ์นี้อย่างไร เอาตัวเงินเดือนสู้ไหม หรือสู้ด้วย สวัสดิการ และรูปแบบการทำงาน ทั้งนี้ต้องมีบางสิ่งที่ดึงให้คนอยากทำงานมากขึ้น หากต้องแลกมาด้วยภาระงานที่หนักกว่าเดิม
3. เทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างก้าวกระโดด เทคโนโลยีช่วยยกระดับให้การบริหารทรัพยากรมนุษย์ง่ายและสะดวกขึ้น ใช้ปัญญาประดิษฐ์อย่างมีจริยธรรมและมีความเป็นธรรม (Ethical Al and Automation) เมื่อ AI เป็นส่วนสำคัญ HR จะต้องเผชิญกับปัญหาทางจริยธรรม ความโปร่งใส ความยุติธรรม และความรับผิดชอบในการใช้ AIเอชอาร์เองก็ต้องเรียนรู้และพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงในทุก ๆ วัน โลกหมุนไปไวแค่ไหน องค์กรก็ต้องก้าวให้ทันตามกระแสหลักด้วย ถือเป็นเรื่องที่ทุกบริษัทต้องเตรียมรับมือ เพราะคนทำงานยุคนี้ ใช้เทคโนโลยีกันได้คล่องแคล่ว เอกสารทุกอย่างลงสำเนาถูกต้องได้สะดวกผ่านสมาร์ตโฟน ฝ่ายบุคคลเองใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาด รับส่งทันกันกับผู้สมัคร ก็จะสร้างความประทับใจให้กันได้ง่าย หากบริษัทหรือองค์กรไหนยังเน้นงานเอกสาร ปรินต์เป็นกระดาษ เขียนใบลาด้วยลายมือ สิ่งเล็กน้อยเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อภาพลักษณ์บริษัททำให้ดูไม่ทันสมัย คนรุ่นใหม่ก็ไม่อยากทำงานด้วย
4. ปรับระบบการทำงานให้สอดคล้องกับคนรุ่นใหม่ ปฏิเสธไม่ได้ว่าระบบการทำงานกลายมาเป็นจุดขายสำคัญ ที่เจาะหัวใจคนรุ่นใหม่ได้ โดยให้ HR นำเสนอในโพสต์หางานเลยว่า องค์กรเน้นการทำงาน Work life balance ได้ทั้งเข้าออฟฟิศ หรือ Work from Anywhere ก็ได้ ปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของคนทำงาน เน้นผลลัพธ์เป็นสำคัญ แถมบรรยากาศการทำงานชิลล์ มีขนมให้กิน มีกาแฟให้ชง มีห้องคาราโอเกะ ซึ่งทั้งหมดนี้จะช่วยดึงดูดผู้สมัครเก่ง ๆ ให้ยื่นเรซูเม่มาที่บริษัทมากขึ้น เป็นหนึ่งในการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างสร้างสรรค์ และถูกใจกลุ่มเป้าหมาย อีกทั้งยังต้องมีความหลากหลาย ความเท่าเทียม และการไม่แบ่งแยก (Diversity, Equity, and Inclusion) (DEI) บริษัทต้องเปิดกว้างและหยุดกำหนดเพศหรือศาสนา แต่ทุกคนต้องทำตามกฎและระเบียบของบริษัทเพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมที่แท้จริง
5. ต้องตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลเป็นฐาน (Data-Driven Decision-Making)
การวิเคราะห์ข้อมูลทางทรัพยากรบุคคลมีความสำคัญมากขึ้น ข้อมูลที่มาจาก Data-driven จะคัดเลือกบุคคลที่มีความสามารถ HR จะร่วมมือกับนักวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำเสนอแนวโน้มที่จะช่วยพัฒนาองค์กร
6. มีการบริหารจัดการทางด้านความสามารถอย่างชาญฉลาด (Agile Talent Management)
การประเมินผลแบบดั้งเดิมจะหายไป HR ต้องเป็นผู้นำในการใช้แนวทางการบริหารทักษะที่ปรับได้ให้เข้ากับเป้าหมายขององค์กร
7. HR ต้องสร้างประสบการณ์การทำงานที่ดีให้กับพนักงาน (Employee Experience Redefined) นอกจากสิ่งของและสวัสดิการแล้ว
ก็ต้องให้ความสำคัญกับการสร้างประสบการณ์ที่มีความหมายในการทำงานให้กับพนักงาน ตั้งแต่การมอบหมายงานและปรับให้เข้ากับแต่ละแผนก ไปจนถึงการพัฒนาสกิลของพนักงาน เพราะทุกอย่างเป็นสิ่งสำคัญ หรืออาจจะลดชั่วโมงการทำงานให้น้อยลง บริษัทหรือองค์กรไหนอ่านมาถึงข้อนี้ อาจจะไม่ถูกใจนัก เพราะรู้สึกว่าไม่คุ้มค่าจ้าง ในทางกลับกัน การที่พนักงานอยู่ที่ออฟฟิศครบ 8 ชั่วโมง ก็ไม่มีอะไรการันตีได้ว่าระหว่างนั้นเป็นเรื่องงานทั้งหมด บริษัทเองอาจจะต้องมองเรื่องปลายทางหรือผลลัพธ์เป็นสำคัญ ถ้างานเสร็จได้ตรงเป้าหมาย พนักงานจะทำด้วยวิธีไหนหรือจะกลับบ้านก่อนเวลา นั่นไม่ใช่ปัญหาใหญ่อะไร นี่คือสิ่งที่คนทำงานส่วนใหญ่ต้องการ เปิดใจให้กว้างแล้วเติบโตไปพร้อมกัน หากคุณซื้อคนทำงานด้วยวิธีนี้ นี่จะเป็นกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ได้ใจคนในองค์กรอย่างแน่นอน
8. มีความยั่งยืนในการทำงานและทำงานอย่างมีจุดมุ่งหมาย (Sustainability and Purpose-Driven Work)
ความรับผิดชอบใน context ของการทำงานหมายถึง การที่พนักงานรับผิดชอบต่อการตัดสินใจ, การกระทำ และผลลัพธ์ของการกระทำของเขา
ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นคือการที่พนักงานมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ มีส่วนเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และช่วยเพิ่มความมุ่งมั่นในการทำงานอีกด้วย
โดยการสร้างวัฒนธรรมองค์กรแห่งความรับผิดชอบ เพื่อให้พนักงานทำงานที่มีจุดมุ่งหมายสอดคล้องกับผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม และทีม HR ต้องคอยรับผิดชอบเพื่อให้ถึงจุดมุ่งหมายขององค์กร
Facebook fanpage : GeeHRM Line@ : 640vtamj Tiktok : GeeHRM Website: GeeHRM